การกล่าวถึงแบ็กทันที่ 13 ของชาวมายา ของ ปรากฏการณ์ 2012

"ถ้าผมได้มีโอกาสไปยังชุมชนที่พูดภาษามายันสักแห่งและถามผู้คนที่อยู่ที่นั่นว่าจะเกิดอะไรขึ้นในปี ค.ศ. 2012 พวกเขาก็คงไม่รู้จะตอบอะไรดี ว่าโลกกำลังจะถึงกาลสิ้นสุดอย่างนั้นหรือ พวกเขาไม่เชื่อคุณหรอก พวกเรามีปัญหาจริง ๆ อยู่แล้วในเวลานี้ เช่นฝน"
—โฮเซ อุชง[31]

ชาวมายาในปัจจุบันทั้งหมดมิได้ยึดติดกับความสำคัญของแบ็กทันที่ 13 มากนัก ถึงแม้ว่าชนเผ่ามายันบางเผ่าซึ่งอาศัยอยู่บริเวณที่ราบสูงกัวเตมาลาจะยังคงใช้ระบบรอบปฏิทินกันอยู่ แต่ปฏิทินแบบนับยาวเป็นปฏิทินที่ใช้กันเพียงอย่างเดียวในสมัยคลาสสิก แต่ปัจจุบันได้รับการค้นพบเฉพาะการค้นหาของนักโบราณคดีเท่านั้น[32] ผู้อาวุโสชาวมายัน อะโปลินาริโอ ชิลี พิกซ์ตัน และนักโบราณคดีชาวเม็กซิกัน กุยเลอโม เบอร์นอล ทั้งสองได้กล่าวว่า "การสิ้นโลก" เป็นแนวคิดตะวันตกซึ่งมีเพียงส่วนน้อยหรือไม่มีส่วนใดเลยที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อของชาวมายา เบอร์นอลเชื่อว่าแนวคิดดังกล่าวได้รับการยัดเยียดให้แก่ชาวมายาโดยชาวตะวันตก เนื่องจากตำนานอภินิหารของพวกเขา "ใช้ไปจนหมดแล้ว"[31][33]

การให้ความสำคัญต่อแบ็กทันที่ 13 ของชาวมายาสมัยคลาสสิกยังคงไม่เป็นที่ทราบกันแน่ชัด จารึกมายาสมัยคลาสสิกส่วนใหญ่มุ่งเขียนถึงประวัติศาสตร์และไม่ได้เขียนคำนายอะไรไว้เลย[34] อย่างไรก็ตาม มีหลักฐานสองชิ้นในคลังข้อมูลประวัติศาสตร์มายาที่อาจกล่าวถึงจุดสิ้นสุดของแบ็กทันที่ 13: อนุสาวรีย์ทอร์ทูกัวโร 6 และชีลัมบาลัม ซึ่งอาจมีความเป็นไปได้เช่นเดียวกัน

วันที่หลังแบ็กทันที่ 13

บางครั้ง จารึกมายาได้อ้างถึงเหตุการณ์ที่ถูกทำนายไว้ในอนาคตหรือการระลึกถึงที่จะเกิดขึ้นหลังจากการสิ้นสุดของแบ็กทันที่ 13 การระบุดังกล่าวนี้ส่วนใหญ่อยู่ในรูปของ "วันที่ระยะห่าง" การระบุแบบนี้จะระบุวันที่ในปฏิทินแบบนับยาว พร้อมกับตัวเลขระยะห่าง ซึ่งเมื่อบวกเพิ่มเข้าไปในวันที่ของปฏิทินแบบนับยาวแล้ว จะทำให้ทราบว่าเหตุการณ์นั้นจะเกิดขึ้นเมื่อใดในอนาคตได้ บนแผ่นกระดานด้านตะวันตกที่วิหารแห่งคำจารึกในปาเลงเก ส่วนหนึ่งของข้อความเสนอเหตุการณ์ในอนาคตถึงการครบรอบปฏิทินที่ 80 ของการขึ้นครองราชย์ของผู้ปกครองปาเลงเก คินิช จานาบ ปากาล (ตรงกับวันที่ 9.9.2.4.8 หรือตรงกับวันที่ 27 กรกฎาคม 615 ศักราชกลาง ในปฏิทินก่อนเกรโกเรียน ซึ่งสามารถคำนวณได้โดยใช้วันที่ประสูติของปากาลเป็นตัวตั้ง (9.8.9.13.0) บวกเข้ากับตัวเลขระยะห่าง 10.11.10.5.8[35] การคำนวณดังกล่าวตรงกับการครบรอบปฏิทินที่ 80 นับตั้งแต่การขึ้นครองราชย์ของปากาล ซึ่งเกิดขึ้นในอนาคตถึง 4,000 ปี หรือตรงกับวันที่ 21 ตุลาคม ค.ศ. 4772[20][35][36]

อีกตัวอย่างหนึ่ง คือ ศิลาจารึก 1 ที่โคบา ซึ่งกล่าวถึงวันที่ในหน่วยยี่สิบเหนือแบ็กทันขึ้นไปอีก โดยกล่าวว่ามันคือปีที่เกิดขึ้นถัดจากนี้ไปอีก 4.134105 × 1028 ปี[23] หรือระยะเวลาที่ห่างจากปัจจุบันเท่ากันในอดีต[37] แต่ไม่ว่าจะเป็นอย่างไรก็ตาม วันที่ดังกล่าวคิดเป็น 1018 เท่าเมื่อเทียบกับอายุปัจจุบันของเอกภพ ซึ่งได้แสดงให้เห็นว่าไม่ใช่ชาวมายันทั้งหมดที่พิจารณาว่าวัฏจักรยาว 5,125 ปีมีความสำคัญที่สุด

ใกล้เคียง

ปรากฏการณ์ ปรากฏการณ์เชื่อมั่นมากเกินไป ปรากฏการณ์เรือนกระจก ปรากฏการณ์แม็คเกอร์ก ปรากฏการณ์ขบวนแห่ ปรากฏการณ์ 2012 ปรากฏการณ์การวางกรอบ ปรากฏการณ์เกาะความร้อน ปรากฏการณ์ความจริงลวง ปรากฏการณ์ฟอเรอร์

แหล่งที่มา

WikiPedia: ปรากฏการณ์ 2012 http://members.shaw.ca/mjfinley/corr.html http://www.cbsnews.com/stories/2009/10/10/ap/latin... http://www.usatoday.com/tech/science/2007-03-27-ma... http://decipherment.wordpress.com/2009/10/11/q-a-a... http://yucalandia.com/science-health-issues/2012-m... http://www.dartmouth.edu/~izapa/M-32.pdf http://adsabs.harvard.edu/full/1957PVasO...6....1M http://ksuweb.kennesaw.edu/~tkeene/apwhAnastasThe%... http://www.anthro.psu.edu/faculty_staff/docs/Webst... http://tulane.edu/news/newwave/062508_maya.cfm